รับทำบัญชี เชียงใหม่ สำนักงานบัญชี เชียงใหม่ รับปรึกษาจดทะเบียนห้าง บริษัท รับปรึกษาจดทะเบียนนิติบุคคล

ขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชี คืออะไร ที่ไหน อย่างไร

การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

ผู้ทำบัญชีที่รับผิดชอบการทำบัญชีแก่ผู้ประกอบการ

สำหรับผู้ประกอบที่จดทะเบียนนิติบุคคล สิ่งที่จำเป็นเบื้องต้นคือผู้ทำบัญชี ที่ดูแลเรื่องการจัดทำบัญชียื่นภาษี ให้ครบถ้วนและถูกต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
ซึ่งกิจการจะใช้บุคลากรในบริษัท หรือจะเป็นผู้รับจ้างทำบัญชีสำนักงานอิสระ ก็ได้ แต่มีข้อกำหนดต่าง ๆ  ในการได้มาซึ่งการเป็นผู้ทำบัญชีที่ต้องมีคุณสมบัติ มีความรับผิดชอบ จรรยาบรรณ
และการอบรมตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับการผู้ทำบัญชี จะมีข้อกำหนดใดบ้างรวมถึงขั้นตอนต่าง ๆ ในการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี เรามาทำความรู้จักกับการเป็นผู้ทำบัญชี

การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีและความสำคัญของการเป็นผู้ทำบัญชี

สารบัญ
1.ทำความรู้จักกับผู้ทำบัญชี
2.หน้าที่ของการเป็นผู้ทำบัญชี
3.คุณสมบัติของ ผู้ทำบัญชี
3.1 ขั้นตอนต่าง ๆ ในการขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชี
3.2 หลังจากขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังนี้
3.3 ดำเนินการเก็บชั่วโมง CPD
4.สรุป

ทำความรู้จักกับผู้ทำบัญชี

ผู้ประกอบการหลายท่านมีความสงสัยเกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของผู้ทำบัญชี แล้วผู้ทำบัญชีที่ว่านี้คือใครกันถ้าให้แปลตามที่พระราชบัญญัติกำหนด แปลว่า
ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ว่าจะได้กระทำในฐานะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม (มาตรา ๔)

ในความหมายตามบทบาทที่เข้าใจง่ายที่สุด

ผู้ทำบัญชี แปลว่าผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบการธุรกิจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของกิจการแห่งหนึ่ง ที่จดทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนดให้กิจการหนึ่งแห่ง
จะต้องมีผู้ทำบัญชี 1 คนซึ่งอาจเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชีหรือผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ ก็ได้ โดยผู้จัดทำบัญชีคนดังกล่าว คือบุคคลที่จบการศึกษาทางด้านบัญชี
ไม่ว่าจะเป็น ปวส.หรือปริญญาตรี ที่จบใหม่ หรือพนักงานบัญชีทั่วไป ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้จัดทำบัญชีโดยจะทำในตำแหน่งหน้าที่ดูแลบัญชีในบริษัทของเจ้าของกิจการโดยตรง
หรือเป็นฟรีแลนด์ที่เปิดสำนักงานบัญชี ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระก็ตามและวุฒิทั้งสองมีคุณสมบัติในการดำเนินงานในขอบเขตความรับผิดชอบที่เหมือนกันเพียงแต่
มีข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ต่างกันเพียงเล็กน้อยทั้งนี้ผู้ทำบัญชีหนึ่งคนจะรับทำบัญชีได้ไม่เกินปีละ 100 แห่ง